เมนู

ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ



[62] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นผู้ไม่ตามติดใจ มีความ
ว่า ผัสสะ ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข
เวทนา ผัสสะอันสัปยุตด้วย กุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วย กุศลจิต ผัสสะ
อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัม-
ปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ
ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็น
โลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะ
ใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้องพร้อม ความที่จิตถูกต้อง
พร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง
ผัสสะ โดยปริญญา 3 ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหาน
ปริญญา.

ว่าด้วยปริญญา 3 ประการ



ญาตปริญญา

เป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่า นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กาย
สัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขม
สุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต
นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต
นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต

นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะ
เป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต
นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณา
ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
โรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่าง
อื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค
เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่
ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ช่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็น
ของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไป
เป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมลแห่งความลำบาก เป็นดัง
เพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอัน
เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชรา
เป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา
เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา
เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของ
ดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า
ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละ บรร
เทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สม
จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะใน

ผัสสะใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ผัสสะนั้นจักเป็นของอันเธอ
ทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดย
ประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะ ด้วยปริญญา
3 นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ตัณหา เรียกว่า ความ
ติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ความติดใจนั้น อันบุคคลใดละได้แล้ว ขัดขาดแล้ว สงบได้
แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ บุคคลนั้น ไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความ
ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริฐ สุข จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ
รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโว-
การภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบัน
กาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย
ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย
ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความกำหนัดแล้ว หมด
ความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ.
[63] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น มีความว่า

กรรมใด คือ ธีรชนย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน ธีรชนย่อมติเตียนตน
เพราะเหตุ 2 ประการ คือ เพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ.
ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ อย่างไร ?
ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต. เราทำวจีทุจริต
ไม่ทำวจีสุจริต. เราทำมโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต. เราทำปาณาติบาต
ไม่ทำความงดเว้น จากปาณาติบาต. เราทำอทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้น
จากอทินนาทาน. เราทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจ-
ฉาจาร. เราทำมุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท. เราทำปิสุณวาจา
ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณวาจา. เราทำผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจาก
ผรุสวาจา. เราทำสัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ. เรา
ทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา. เราทำพยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท. เราทำ
มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ. ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะกระทำ และ
เพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า เราไม่ทำ
ความบริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณใน
โภชนะไม่หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่ประกอบด้วยสติ-
สัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4 ไม่เจริญ
อิทธิบาท 4 ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ไม่เจริญพละ 5 ไม่เจริญโภชฌงค์ 7
ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค
ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะการทำ และเพราะไม่
กระทำ อย่างนี้ไม่ทำกรรมที่ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด
ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น.
[64] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์
มีความว่า ความติด ได้แก่ความติด 2 อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา 1
ความติดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความติดด้วยทิฏฐิ คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง
ผู้ดำเนินด้วยปัญญา ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืน
ความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด
ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว
ในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์ วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้
ปราศจากแดงกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธีรชนย่อมไม่ติดใน
ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์
.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง 2 กำหนด
รู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่
ทำกรรมนั้น ย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์.

[65] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึด
ถือทั้งหลาย พึงข้ามโอตะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว
ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.

[66] คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว....พึงข้ามโอตะได้ มีความ

ว่า สัญญา ได้แก่ กามสัญญา พยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนก-
ขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา
คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา สัญญาใดเห็นปานนี้
คือ ความรู้พร้อม ความเป็นคืออันรู้พร้อม นี้เรียกว่าสัญญา คำว่า
กำหนดรู้สัญญาแล้ว มีความว่า กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา 3 คือ
ญาตปริญญา ตีรูปริญญา ปหานปริญญา.
ญาตปริญญา เป็นไฉน ? มุนีย่อมรู้ปัญญา คือ ย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่านี้กามสัญญา นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา
นี้อัพยาปาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธ-
สัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา นี้เรียกว่า ญาต-
ปริญญา
.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณา
สัญญาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของอื่น เป็นของชำรุด
เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว
เป็นของแตกพัง ฯลฯ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของ
ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญา เป็นไฉน ? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ
บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะใน
สัญญาใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย สัญญานั้นจักเป็นของอัน

เธอทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วย
ประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา
3 นี้ คำว่า พึงข้ามโอฆะได้ คือ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วง
เลย ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.
[67] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย มีความ
ว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ 2 อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา 1
ความยึดถือด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ
นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ คำว่า มุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่า
โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น
ธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า มุนี คือผู้ถึง
ญาณที่ชื่อว่า โมนะ โมเนยยะคือ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี มี 3 อย่าง คือ
โมเนยยธรรมทางกาย 1 โมเนยยธรรมทางวาจา 1 โมเนยยธรรม
ทางใจ 1.
โมเนยยธรรมทางกาย เป็นไฉน ? การละกายทุจริต 3 อย่าง
ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต 3 อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์
กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในกาย ความ
ดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย
นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย.

โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นไฉน ? การละวจีทุจริต 4 อย่าง
ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต 4 อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์
วาจาปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา
ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา
นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา.
โมเนยยธรรมทางใจ เป็นไฉน ? การละมโนทุจริต 3 อย่าง
ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต 3 อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์
จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความ
ดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ
นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็น
มุนีผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลส
ทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็น
มุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอัน
ล้างเสียแล้ว.

ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี 3 อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนี
มี 6 จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี
มุนิมุนี.

อาคารมุนี เป็นไฉน ? ชนเหล่าใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือ
นิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อาคารมุนี.
อนาคารมุนี เป็นไฉน ? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพาน
อันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า อนาคารมุนี.
พระเสขะ 7 จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี.
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี.
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่า
ไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ
ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ฉะนั้น
บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น
และบุคคลใดย่อมรู้ อรรถทั้ง 2 ในโลก บุคคลนั้นเรียกว่า
เป็นมุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและ
ธรรมของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก
ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่ายดำรง
อยู่ เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี.

คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด 2 อย่าง คือ ความติดด้วย
ตัณหา 1 ความติดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความติดด้วยตัณหา ฯลฯ

นี้ชื่อว่า ความติดด้วยทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วย
ทิฏฐิย่อมไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน
ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในความ
ยึดถือทั้งหลาย เป็นผู้มี่จิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย.
[68] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติ
อยู่
มีความว่า ลูกศร ได้แก่ลูกศร 7 อย่าง คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศร
คือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความ
โสกะ ลูกศรคือความสงสัย ลูกศรเหล่านี้ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ
ผู้นั้นเรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก
สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก
ดับ เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็น
ผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว. คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่ เที่ยวอยู่
เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป. คำว่า เป็น
ผู้ไม่ประมาท
คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด
มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม
ทั้งหลาย. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ
มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด
ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า

เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่
บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท
คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่
บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ
ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาทคือ ความพอใจ ฯลฯ
ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ
พึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร
ดังนี้ ความไม่ประมาท คือความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่าเราพึง
ยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่
บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท
คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้น ว่าเราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่
บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้, ความไม่ประมาท
คือความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความ
เป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้
กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ.
ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่าเราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้
พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำ
ให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่แจ้ง โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่.

[69] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า มีความว่า ย่อม
ไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพของตน, ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพในปรโลก.
ไม่หวังโลกนี้คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน.
ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของ
ผู้อื่น. ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน 6. ไม่หวังโลกหน้า คือ
อายตนะภายนอก 6. ไม่หวังโลกนี้ คือ มนุษยโลก. ไม่หวังโลกหน้า
คือ เทวโลก. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ. ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ
อรูปธาตุ. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ. ไม่หวังโลกหน้า
คืออรูปธาตุ. ไม่หวังไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่
ไม่พอใจ ซึ่งคติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป
เพราะนั้น จึงชื่อว่าย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึด
ถือทั้งหลาย พึงข้ามโอตะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว
ไม่ประมาท ประพฤติอยู่. ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.


จบ คุหัฏฐกสุคตนิทเทส ที่ 2

อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทส



ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺโต ได้แก่ ผู้ข้อง.
บทว่า คุหายํ ได้แก่ ในกาย. ก็กายท่านเรียกว่า ถ้ำ เพราะ
เป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้าย ๆ มีราคะเป็นต้น.
บทว่า พหุนาภิฉนฺโน ได้แก่ อันกิเลสมีราคะเป็นต้น มากปิดบัง
ไว้ด้วยบทว่า พหุนาภิฉนฺโน นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายใน.
บทว่า ติฏฐํ ได้แก่ เมื่อตั้งอยู่ด้วยอำนาจราคะเป็นต้น. กามคุณ
ท่านกล่าวว่าโมหนะ ในบทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห. ด้วยว่า เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมหลงในกามคุณนี้ เป็นผู้หยั่งลงในกามคุณเหล่านั้น.
ด้วย บทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายนอก.
บทว่า ทูเร วิเวกา หิ ตถาวิโธ โส ความว่า นรชนผู้มี
อย่างนั้นเป็นรูปนั้นอยู่ไกล คือไม่ใกล้ จากวิเวกทั้ง 3 อย่าง มีกายวิเวก
เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชน
ละได้โดยง่าย. ท่านอธิบายว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก ย่อมไม่เป็นของ
ที่นรชนจะละได้โดยง่าย.
บทว่า สตฺโตติ หิ โข วุตฺตํ ท่านกล่าวว่าโดยนัยมีอาทิอย่างนี้
ว่า สัตว์ นรชน มาณพ. พระพุทธพจน์ว่า คุหายํ ที่พระสารีบุตร
เถระอธิบายว่า คุหา ตาว วตฺตพฺพา ความว่า ถ้ำควรกล่าวก่อน.
ในบทว่า กาโยติ วา เป็นต้น ประกอบบทดังนี้ก่อนว่า กายก็ดี ถ้ำ
ก็ดี ฯลฯ หม้อก็ดี.